❄ นิยาม ❄
ถ้าสมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B แล้ว จะเรียกว่า เซตA เป็นสับเซตของ เซตB จะเขียนแทน เซต A เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย A ⊂ B
ถ้าสมาชิกบางตัวของเซต A ไม่เป็นสมาชิกของเซต B จะเรียกว่าเซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B
เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B เขียนแทนด้วย A ⊄ B
จากเซต A และ B ข้างต้น จะเห็นได้ว่าสมาชิกทุกตัวของเซต A คือ 7 และ 8 ต่างก็เป็นสมาชิกของเซต B แสดงว่า เซต A เป็นสับเซตของเซต B เขียนแทนได้ด้วย A ⊆ B หรือ A ⊂ B
ตัวอย่าง
A = {7,8} และ B = {1,3,5,7,8}จากเซต A และ B ข้างต้น จะเห็นได้ว่าสมาชิกทุกตัวของเซต A คือ 7 และ 8 ต่างก็เป็นสมาชิกของเซต B แสดงว่า เซต A เป็นสับเซตของเซต B เขียนแทนได้ด้วย A ⊆ B หรือ A ⊂ B
🌠สมบัติของสับเซต
- A ⊂ A (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวมันเอง)
- A ⊂ U (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์)
- ø ⊂ A (เซตว่างเป็นสับเซตของทุกๆ เซต)
- ถ้า A ⊂ ø แล้ว A = ø
- ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ C แล้ว A ⊂ C (สมบัติการถ่ายทอด)
- A = B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ B ⊂ A
- ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว สับเซตของเซตจะมีทั้งสิ้น 2n สับเซต
🌠สับเซตแท้
A เป็นสับเซตแท้ของ B ก็ต่อเมื่อ A⊂B และ A ≠ B
ตัวอย่าง
- A = { a , b } และ B = { a , b , c } จะเห็นได้ว่า A เป็นสับเซตแท้ของ B เพราะ สมาชิกทุกตัวของเซต A คือ a และ b เป็นสมาชิกของเซต B แและเซต A ไม่เท่ากับเซต B
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น