เซต (Set)

เซต 🌟
(Set)

 เซต คือ เป็นคำที่ไม่ให้ให้นิยาม (Undefined Term) เรามักใช้เซตแทนสิ่งที่อยู่ร่วมกัน ซึ่งหมายถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เราสามารถกำหนดสมาชิกได้ชัดเจน (Well-Defined) หรือก็คือความหมายของเซตนั่นเอง

🌠การเขียนเซต
   แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
      1.แบบแจกแจงสมาชิก
          คือ การเขียนสมาชิกทั้งหมดในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา { } และใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นระหว่างสมาชิกแต่ละตัว
        ตัวอย่างเช่น
           A = {a,e,i,o,u}
           B = {1,2,3,4,5}
      2.แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิก
          คือ การเขียนเซตโดยใช้ตัวแปรแทนสมาชิกของเซต แล้วบรรยายสมบัติของสมาชิกที่อยู่ในรูปของตัวแปร โดย | อ่านว่า โดยที่
        ตัวอย่างเช่น
           A = {x|x เป็นสระในภาษาอังกฤษ}
           B = {x|x เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5}

🌠เซตจำกัดและเซตอนันต์
    1.เซตจำกัด คือ เซตที่สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้
    2.เซตอนันต์ คือ เซตที่ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้

🌠เอกภพสัมพัทธ์
          ในการเขียนเซตจะต้องกำหนดเซตที่บ่งบอกถึงขอบเขตของสิ่งที่พิจารณา เรียกเซตนี้ว่า เอกภพสัมพัทธ์ (relative universe) ซึ่งมักเขียนแทนด้วย U โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อกล่าวถึงสมาชิกของเซตใดๆ จะไม่กล่าวถึงสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์

   กำหนดให้ U คือ เซตของจำนวนจริง
                     A  = {x|x = 4}
   และ           B  = {x|x = -1}
   จะได้ A = {-2,2} และ B = {-1}
   แต่ถ้ากำหนดให้ U คือ เซตของจำนวนเต็มบวก
   จะได้ A = {2} และ B = {}

   เอกภพสัมพัทธ์ที่พบบ่อย ได้แก่
                N   แทนเซตของจำนวนนับ
       Z หรือ I   แทนเซตของจำนวนเต็ม
                Q   แทนเซตของจำนวนตรรกยะ
                Q'  แทนเซตของจำนวนอตรรกยะ
                R   แทนเซตของจำนวนจริง

   บางครั้งเพื่อความสะดวก จะระบุเอกภพสัมพัทธ์ลงในการเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข เช่น
                     A  = {x ∈ N|x= 4}
                     B  = {x ∈ Z|x2 = 4}
   จะได้ว่า      A = {2} แต่ B = {-2,2}

   หมายเหตุ  ถ้ากล่าวถึงเขตของจำนวน และไม่ได้กำหนดว่าเซตใดเป็นเอกภพสัมพัทธ์ ในระดับชั้นนี้ให้
                     ถือว่าเอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตของจำนวนจริง

🌠เซตที่เท่ากัน
          กำหนดให้ A = {0,1,2,3} และ B = {1,0,3,2} เซตทั้งสองมีสมาชิกเหมือนกันทุกตัว แม้ลำดับของสมาชิกจะต่างกันก็ถือว่าเซตทั้งสองเป็นเซตเดียวกัน หรือกล่าวได้ว่า เซต A กับ เซต B เป็น เซตที่เท่ากัน (equal sets or identical sets) หรือเซต A เท่ากับ เซต B เขียนแทนด้วย A - B

     บทนิยาม 
          เซต A เท่ากับ เซต B หมายถึง สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B และสมาชิกทุกตัวของเซต B เป็นสมาชิกของเซต A

               เซต A เท่ากับ เซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A = B

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สื่อการเรียนการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต

สื่อการเรียนการสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต เซต (Set) เซต (Set) สับเซต เพาเวอร์เซต แผนภาพเวนน์ การดำเนินการระหว่างเซต ก...